Thursday, November 7, 2013

การศึกษาดูงานสถาบันอุดมศึกษาในประเทศอังกฤษ

รายงาน
การศึกษาดูงานสถาบันอุดมศึกษาในประเทศอังกฤษ
เรื่อง Professional Academic Development, University Social  Enterprise and Student Entrepreneurship
วันที่ 9-13 กันยายน 2556
Social  Enterprise  เป็นมุมมองใหม่ของการนำผลงานวิจัยไปใช้ประโยชน์ที่มีความก้าวหน้า  โดยการนำปัญหาสังคม  มาจัดการแก้ไขด้วยนวัตกรรมทางสังคม เป็นกระบวนการต่อเนื่องไปสู่การพึ่งตนเอง  นับว่าเป็นการนำผลงานวิจัยไปใช้ประโยชน์ตั้งแต่การสร้างคุณภาพชีวิต สิ่งแวดล้อม การสร้างรายได้ครอบคลุมกลุ่มผู้ด้อยโอกาสในสังคม  ซึ่งตรงตามแผนการพัฒนาประเทศที่มีการเชื่อมโยงทั้ง Competitive Growth, Green Growth และ Inclusive Growth  เข้าด้วยกัน
การวิจัยจึงมิใช่เพียงแค่ project ที่สร้าง product เพื่อแสดงผลงานวิจัยดีเด่นสู่การตีพิมพ์เท่านั้น แต่เป็นการดำเนินชีวิตที่ต่อเนื่องในสถานการณ์ที่เป็นจริง มีการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา  จึงต้องมีการสร้างนวัตกรรมอย่างต่อเนื่อง  นำไปสู่การประกอบการทางสังคมเพื่อการพึ่งตนเองได้
เมื่อสถาบันการศึกษานำ Social  Enterprise เข้ามาบูรณาการในระบบการเรียนการสอน  การวิจัย และบริการสังคมชุมชนแล้ว ก็จะเป็นการจัดการการศึกษาที่อยู่ในความเป็นจริง do it for real. It is not a project but it is     a continuing journey” สถาบันการศึกษาก็จะเป็นกลไกพัฒนาคน  ที่มีความพร้อมเข้าสู่การทำงานที่เป็นประโยชน์ต่อสังคม ด้วยวิธีการจัดการศึกษาเพื่อประโยชน์ต่อสังคม  ก็จะประหยัดค่าใช้จ่ายในการแก้ไขปัญหาสังคมด้านต่างๆ  และเป็นการใช้จ่ายด้านการศึกษาที่คุ้มค่าด้วย
โดย ผศ.พัชริน ดำรงกิตติกุล         สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย        ตุลาคม 2556


เนื้อสาระประกอบด้วย


หน้า
ความเป็นมา และกำหนดการศึกษาดูงาน
2
University Social  Enterprise : การจัดการศึกษาเพื่อการ....พัฒนาคน....พัฒนาสังคมอย่างยั่งยืน
4
มหาวิทยาลัยในอังกฤษ ที่มีการจัดการศึกษาและการวิจัยเพื่อสร้าง Social Entrepreneurship  4 แห่ง
5
Social Enterprise  เป็นการนำผลงานวิจัยไปใช้ประโยชน์ที่ก้าวหน้า
8
สรุปมุมมองจากภาพรวมการศึกษาดูงาน 4 มหาวิทยาลัยในประเทศอังกฤษ  ในช่วงเวลา 5 วัน
10
เสียงสะท้อนจากผู้ร่วมเดินทางที่มีบทบาทในระบบอุดมศึกษาของประเทศไทย และการนำไปปฏิบัติในประเทศไทย
10
สะท้อนจากผู้เขียนบทส่งท้าย                                                                                                  บทสรุป                                                                       
13
16
บทส่งท้าย :การแลกเปลี่ยนมุมมอง และข้อเสนอการศึกษาดูงานด้าน University Social Enterprise in UK  17-18        
การศึกษาดูงานสถาบันอุดมศึกษาในประเทศอังกฤษ เรื่อง Professional Academic Development,                                                               University Social  Enterprise and Student Entrepreneurship
วันที่ 9-13 กันยายน 2556   
ผศ.พัชริน ดำรงกิตติกุล         สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย                  ตุลาคม 2556
ความเป็นมา จากสถานการณ์การเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจ สังคม และเทคโนโลยีอย่างรวดเร็ว  สถาบันอุดมศึกษาในฐานะที่มีบทบาทผลิตกำลังคนเพื่อการพัฒนาเศรษฐกิจ  และรับใช้สังคม  จำเป็นต้องปรับวิธีการจัดการเรียนการสอนให้มีคุณภาพสอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา  ประเทศอังกฤษมีระบบและโครงสร้างสนับสนุนการพัฒนาคุณภาพบัณฑิต  ด้วยการพัฒนาคุณภาพอาจารย์  และการจัดการระบบหน่วยงานภายในสถาบันการศึกษาให้เอื้อต่อการจัดการอุดมศึกษาตั้งแต่ การจัดการเรียนการสอน การวิจัยและบริการวิชาการให้ตรงตามสถานการณ์ปัจจุบัน
สถาบันคลังสมองของชาติ จึงได้จัดการศึกษาดูงานในประเทศอังกฤษเรื่อง Professional Academic Development, University Social  Enterprise, and Student Entrepreneurship in The UK ช่วงวันที่ 8-13 กันยายน 2556   มีสาระ 2 เรื่องคือ Professional Academic Development และ University Social  Enterprise and Student Entrepreneurship   ดังนี้
Professional Academic Development
University Social  Enterprise and Student Entrepreneurship
“UKPSF and the Continuing Professional Development Programme  for improving student learning outcome and employability” (Monday Sept 9, 2013)
By Higher Education Academy (HEA)
Learn, and Share and Discussion with  Vice Chancellor, Northampton University
Visit, Learn and Share with Goodwill Solutions, Northampton University’s  partner Social Enterprises (Monday Sept 9,  2013)
Oxford Learning Institute เกี่ยวกับขอบเขตของงาน หลักสูตรเพื่อการพัฒนาบุคลากร รวมทั้งกิจกรรมต่างๆ ที่หน่วยงานนี้ได้ดำเนินการเพื่อการพัฒนาคุณภาพอาจารย์ และบุคลากรของมหาวิทยาลัย และ University of Oxford Strategic Plan 2013-2018(Tuesday Sept10, 2013)Tuesday, 1
University of Oxford , Skoll Centre for Social Entrepreneurship, Said Business School อธิบาย mission, values, และตัวอย่างกิจกรรมของศูนย์ ในการส่งเสริม Social entrepreneurship และข้อมูลเกี่ยวกับ Said Business School, Visit Oxford Student Hub (Social Enterprise) Meet with students working for the Hubs (Tuesday Sept 10, 2013)
Centre for Learning Innovation & Professional Practice (CLIPP) ของ Aston เป็นหน่วยงานที่ดูแลเรื่องการพัฒนาคุณภาพอาจารย์ของมหาวิทยาลัย ขอบเขตของงาน  หลักสูตรเพื่อการพัฒนาบุคลากร Learning and Teaching Strategy 2012-2020 ที่มีการกำหนดเป้าหมายของการเรียนการสอนไว้  มีรายละเอียดของการ Implementation, มี Action Plan ทั้งในระดับมหาวิทยาลัยและระดับคณะ และการ Monitor ด้วย (Thursday Sept 12, 2013)
Visit, Learn and Share with University of Northampton (University Social Enterprise and Student Entrepreneurship) By Professor Dr. Simon Denny, Director of Enterprise, Development and Social Impact,     University of Northampton Visit Social Enterprise Companies, Student-engaged Companies in Northampton (Wednesday Sept 11,  2013)
Professional Academic Development
University Social  Enterprise and Student Entrepreneurship
Visit, Learn and Share with Aston University, Birmingham  (Professional Development)    
Dr Anne Wheeler                                             Visiting Academic Fellow
Aston University
Visit, Learn and Share with Aston University, Birmingham  (Professional Development)    
Professor Alison Halstead
Pro-Vice-Chancellor
Strategic Academic Developments

University College London Business (Friday Sept 13, 2013)  ดูรายละเอียดเกี่ยวกับหน่วยงาน  ผลงานที่ได้ดำเนินการ ประเภทบุคลากรและความก้าวหน้า รายละเอียดเกี่ยวกับ social enterprise และกิจกรรมที่ส่งเสริมและสนับสนุน Social enterprise ของบุคลากรและนักศึกษา  
From Ideas to Social Enterprise: a guide to utilizing university intellectual property for the benefit of society, 2013 ให้รายละเอียดตั้งแต่คำจำกัดความของ Social enterprise ข้อแตกต่างระหว่าง social enterprise กับ enterprise ทั่วไป  การทำ Business plan และสัญญาต่างๆ ตลอดจนกรณีศึกษาที่มหาวิทยาลัยไปดำเนินการในเรื่อง Social enterprise
The National Association of College and University Entrepreneurs (NACUE) (Friday Sept 13, 2013)
NACUE’s 12 Founders Report รายงานการไปสัมภาษณ์ผู้ก่อตั้ง NACUE  12 คน
Student Enterprise Framework แบบสำรวจที่ NACUE ได้จัดทำร่วมกับ University of Lincoln เพื่อให้บุคลากรและนักศึกษาของมหาวิทยาลัยประเมินว่ามหาวิทยาลัยของตนมีกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับ enterprise มากน้อยเพียงใด เพื่อขยายผลเรื่องนี้ในวงกว้าง


ประโยชน์ที่ได้จากการไปศึกษาดูงานสถาบันอุดมศึกษาในประเทศอังกฤษครั้งนี้ นอกจากมีเนื้อหาสาระดังกล่าวแล้ว   ผู้ร่วมเดินทางการศึกษาดูงานครั้งนี้มีทั้งหมด ๓๑  ท่านล้วนเป็นผู้มีประสบการณ์สูง จาก ๑๕ มหาวิทยาลัย  เป็นมหาวิทยาลัยแห่งชาติ  ๖ แห่ง  มหาวิทยาลัยราชภัฏ ๒ แห่ง มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล ๑ แห่ง  มหาวิทยาลัยเอกชน ๑ แห่ง และมหาวิทยาลัยของรัฐแห่งอื่นๆ อีก ๕ แห่ง  เมื่อดูจากการกระจายของพื้นที่  มาจากมหาวิทยาลัยในพื้นที่ภาคเหนือ  ๒ แห่ง ภาคอีสาน ๔ แห่ง  ภาคใต้ ๑ แห่ง และภาคกลาง ๘ แห่ง  แบ่งออกเป็นกลุ่มตามตำแหน่งบทบาทหน้าที่มีดังนี้
ตำแหน่งบทบาทหน้าที่
จำนวน
มหาวิทยาลัย
นายกสภามหาวิทยาลัย
มหาวิทยาลัยมหิดล   มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี
อธิการบดี
มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ   มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์
รองอธิการ ผู้ช่วยอธิการ
ม.มหิดล  มจธ. ๒ ท่าน   มน.  มข. ม.ศิลปากร มรภ.นครราชสีมา มรภ.มหาสารคาม
คณบดี และรองคณบดี
จุฬาฯ ม.มหิดล  มช. ๒ ท่าน  ม.บูรพา  มศว. มทร.ธัญบุรี  ม.ศรีปทุม  มจธ.
ผอ. และรองผอ.สถาบันการเรียนรู้
มศว. ๒ ท่าน  มจธ.
ผอ.การสถาบันวิจัย และอุทยานวิทยาศาสตร์
ม.สุรนารี  มน.
ผอ.สถานบ่มเพาะวิสาหกิจ
ม.นเรศวร


เรื่องที่จะเขียนต่อไปนี้  จะเน้นเฉพาะส่วนที่เชื่อมโยงการเรียนการสอน การวิจัย สู่ Social Enterprise


University Social  Enterprise : การจัดการศึกษาเพื่อการ....พัฒนาคน....พัฒนาสังคมอย่างยั่งยืน


จากการศึกษาดูงาน University Social Enterprise ในมหาวิทยาลัยประเทศอังกฤษ 4 แห่ง (University of Northampton, University of Oxford , Skoll Centre for Social Entrepreneurship, Said Business School และUniversity College London Business)  พบว่า University Social Enterprise เป็นกลไกเชื่อมโยงระบบการศึกษา  การวิจัยที่ผูกพันกับปัญหาสังคม ชุมชน  ทำให้สถาบันการศึกษาจัดระบบการศึกษาที่สอดคล้องกับความต้องการการพัฒนาเศรษฐกิจ สังคม ชุมชน  ด้วยวิธีการนี้  ผู้เรียนได้เรียนรู้ในสถานการณ์ที่เป็นจริง ทำให้มีความพร้อมที่จะออกมาทำงานที่ส่งผลต่อการแก้ปัญหาสังคมอย่างยั่งยืน รัฐบาลก็ประหยัดงบประมาณที่ต้องไปสงเคราะห์และแก้ปัญหาสังคมด้านต่างๆ  ผู้เผชิญปัญหาสังคมก็มีศักดิ์ศรี  เนื่องจากสามารถแก้ปัญหาด้วยการพึ่งตนเอง       มิต้องรอคอยขอความช่วยเหลือทางการเงินจากผู้อื่นตลอดไป ดังสรุปในภาพ




มหาวิทยาลัยในอังกฤษ ที่มีการจัดการศึกษาและการวิจัยเพื่อสร้าง Social Entrepreneurship  4 แห่ง


1) Northampton University
มหาวิทยาลัย Northampton มีอิสระในการคิดเรื่องใหม่ๆ ปี 2011 Northampton มี 6 คณะ มุ่งมั่นที่จะพัฒนาเป็น social enterprise ในสหราชอาณาจักรและทั่วโลก  ด้วยเหตุนี้กิจการทุกด้านเป็นการประกอบการทางสังคม  ตั้งแต่การจัดการเรียนการสอน  การวิจัย การบริการชุมชน การจัดซื้อจัดจ้าง  รวมทั้งการสื่อสารกับระดับนโยบาย โดยมีเป้าหมาย 3 ด้าน คือ
1. สร้างนักศึกษาที่มีประสบการณ์การประกอบการทางสังคม
2. สร้างทักษะด้านการพัฒนานวัตกรรม และการประกอบการ
3. สร้างการมีส่วนร่วมทางสังคมและนวัตกรรมทางสังคม


ปัจจุบันมีนักศึกษาและอาจารย์ทำกิจกรรม Social Enterprise เพียงร้อยละ 10 บูรณาการการสอนกับการวิจัย (integration of  Social Enterprise with learning and research) และหาวิธีการทำวิจัยที่มีพลังส่งผลกระทบต่อสังคม (how to do research in a powerful impact) และ Social Enterprise  และเพิ่มทุนวิจัยด้านการตลาดเพื่อสังคม ซึ่งแตกต่างจากการตลาดทั่วไป  ดังนั้นจึงมีนโยบายให้ทุกหลักสูตรออกแบบการเรียนการสอนแบบใหม่ และมีการลงทุน Social Enterprise
มหาวิทยาลัยNorthampton ได้ถือหุ้นในโรงงานผลิตเฟอร์นิเจอร์ไม้ ชื่อ Goodwill Solutions            สถานประกอบการแห่งนี้ได้ชื่อว่าเป็น a truly social enterprise  โดยรับผู้พ้นโทษเข้าไปฝึกงานในโรงงาน ด้วยค่าใช้จ่ายของบริษัทเอง  นับว่าเป็นกิจการเพื่อสังคม เนื่องจากปกติผู้โพ้นโทษมักจะกลับเข้าไปต้องโทษอีกภายใน 18 เดือน  ด้วยการให้โอกาสผู้พ้นโทษเช่นนี้  ทำให้ผู้พ้นโทษได้งานทำ  การมีสถานประกอบเพื่อสังคมเช่นนี้จะช่วยรัฐลดค่าใช้จ่ายในเรือนจำ  และยังได้เก็บภาษีเงินได้เพิ่มอีกด้วย  
การเข้าถือหุ้นของมหาวิทยาลัย นอกจากจะสั่งซื้อสินค้าจากโรงงานในราคาผู้ถือหุ้นแล้ว ยังทำให้สถานประกอบการรับนักศึกษาเข้าไปฝึกงานและได้รับบริการวิชาการด้าน IT, marketing, design, finance and HR parts of the Goodwill business   เป็นการสร้างโอกาสการมีงานทำหลังนักศึกษาสำเร็จการศึกษาด้วย ดูรายละเอียด ที่http://www.northampton.ac.uk/social-enterprise/current-initiatives/goodwill-solutions
2) Oxford University
Professor Alex Nicholls  เป็น Professor of Social Entrepreneurship, Fellow of Harris Manchester College, Oxford (Alex.Nicholls@sbs.ox.ac.uk) ให้ข้อมูลว่า  “The Skoll Centre is a leading academic entity for the advancement of social entrepreneurship worldwide. We foster innovative social
transformation through education, research, and collaboration. We accomplish this by:
•  พัฒนาความสามารถพิเศษ  (Developing Talent) ด้วยการจัดการการศึกษาให้ผู้เรียนมีวิสัยทัศน์ และทักษะด้านการตลาด  การเงินเพื่อสังคม  การบริหารธุรกิจแนวใหม่  และการสร้างนวัตกรรมทางสังคม
•  พัฒนาความก้าวหน้าด้านการวิจัย (Advancing Research)  ในด้าน Social Finance, Social Impact Measurement, Policy and Social Entrepreneurship, Fair Trade นอกจากทำงานวิจัยที่นำไปสู่การสร้างทฤษฎีแล้ว ยังเป็นงานวิจัยที่นำไปสู่การปฏิบัติ และสนับสนุนการสร้างเครือข่ายนักวิชาการเพื่อเผยแพร่ผลงานสู่สากล
•  สร้างศูนย์กลางความร่วมมือ (Creating a Collaborative Hub)  สร้างความเชื่อมโยง social entrepreneurs กับผู้นำทางธุรกิจ  รัฐบาล องค์การสาธารณประโยชน์ เพื่อสร้างผลกระทบทางสังคม”


3) Aston University  มี Slogan “Employable Graduates , Exploitable Research”  เน้นการเรียนการสอน  การวิจัย การมีงานทำ จึงไม่มุ่งผลงานวิจัยดีเด่น  แต่เน้นด้านการเรียนการสอน และการมีงานทำของนักศึกษา  จึงสนับสนุนงานวิจัยใน 4 ด้าน คือ
  1. สุขภาพ  ผู้สูงอายุ
  2. การพัฒนาองค์กร
  3. การพัฒนาด้านวิศวกรรม  พลังงาน การนำของเสียมาใช้ใหม่
  4. ความหลากหลายทางวัฒนธรรม
Center of Excellence at Aston University   สนับสนุนงานวิจัยบูรณาการกับการเรียนการสอนทุกระดับ  โดย Designing Effective Learning   ออกแบบการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ  ตลอดจนการวัดผล  ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของการเรียนรู้  assessment is part of / for / as Learning  ซึ่งต้องออกแบบการเรียนการสอนแบบใหม่
4) UCL (University College London)  Supporting academic staff to start up a social enterprise and utilizing university intellectual property for the benefit of society,  knowledge based SE
เมื่อ 15 ปีที่แล้ว  พยายามหาวิธีการแก้ปัญหาสังคม  พัฒนาคุณภาพชีวิต  การสนับสนุนเงินจากรัฐไปไม่ถึงปัจเจกบุคคล  จึงเกิด UnLtd  ทำงานโดยใช้ Research and Identification of social problem and challenges เห็นว่างานวิจัยที่นำไปตีพิมพ์  มีผลงานออกมาสวยงาม  แต่ขาดการมองปัญหาสังคม   จึงใช้วิธีการชวนคนมาแก้ปัญหาสังคม ด้วยวิธีการ  ดังนี้
  • คุยกันด้วยวิธีการต่างๆ
  • มีกลุ่มนักวิจัย  เริ่มคิดการนำผลงานไปสู่สังคม
  • ให้นักศึกษาทำโครงการ  
  • ทำงานร่วมกับนักเรียน ให้เก็บข้อมูล  เพื่อเรียนรู้ร่วมกัน
  • วิธีคิดใหม่ เรียก Citizen Science ให้คนที่ได้รับปัญหาเก็บข้อมูลเอง เช่น Noise  Mapping  และเก็บข้อมูลว่ามีจำนวนคนเดินทางด้วยเท้าเท่าไรที่ได้รับผลกระทบการเสียงดังบนถนน เพื่อให้ได้ข้อเท็จจริงในการแก้ปัญหาจากเสียง
  • ตั้ง Social Enterprise(SE)  
  • ระดมเงินทุนจากแหล่งต่างๆ
  • ทำงานแบบมีส่วนร่วมกับสังคม
  • สร้างความร่วมมือระหว่างมหาวิทยาลัยกับหน่วยงานต่างๆ  
ปี 2009 เริ่มนำงานวิจัยสู่ SE โดยหลักการ Social Entrepreneurship and research outcomes - making an impact in society  โดยสนับสนุนการวิจัยระดับ ปริญญาโท และปริญญาเอก  เพื่อสร้างความยั่งยืนในชุมชน ตั้งแต่ ปี 2010-2013 เกิดการขับเคลื่อนการวิจัยเพื่อตั้ง SE  ชื่อ Mapping for Change   โดยได้รับการสนับสนุนจาก UnLtd  ร่วมมือกับ 25 ชุมชน แก้ปัญหา Air pollution  โดยใช้วิธีการง่าย ๆ ราคาถูก คือใช้ Web-based mapping และ Free GPS  กระบวนการนี้เรียก Citizen Science  คือ ประชาชนร่วมกำหนดปัญหา ร่วมกระบวนการเก็บข้อมูลมลภาวะของเสียงในชุมชน ร่วมวิเคราะห์ข้อมูล และอภิปรายผลจากข้อมูล   นำไปสู่การแก้ปัญหาทางจิต   ปัญหาสิ่งแวดล้อม  และการผลิตอาหารปลอดภัย


เอกสาร “The realisation of  research  from  Ideas to Social Enterprise : A guide to utilizing University intellectual property for the benefit of society” รวบรวมโดย  UCL, UCLB, UnLtd and STROM, 2013  และเอกสาร  “ Social Enterprise & the Third SectorUniversity of Northampton Research Summary, September 2013  โดย Professor Simon Denny, Dr Richard Hazenberg & Dr Fred Seddon Social Enterprise Research Group (SERG) University of Northampton มีรายละเอียดเนื้อหาสาระที่จะนำมาเขียนเกี่ยวกับการนำผลงานวิจัยสู่การสร้างการประกอบการทางสังคมต่อไป


เมื่อปี 2009 เครือข่ายนักศึกษาทั่วประเทศอักฤษ ได้ตั้ง NACUE (The National Association of College and University Entrepreneurs)  ทำกิจกรรม 3 ด้าน คือ
  1. Network (Community Management)
  2. Events & Programmes
  3. Policy, Advocacy & Research
เพื่อขับเคลื่อน SE ในกลุ่มเยาวชน  ดูรายละเอียดที่ http://nacue.com/
Social Enterprise  เป็นการนำผลงานวิจัยไปใช้ประโยชน์ที่ก้าวหน้า
จากเดิมผลงานวิจัยเน้นการสร้างความรู้ใหม่เชิงวิชาการ และสิ้นสุดที่การตีพิมพ์  ทำงานเป็นโครงการจนได้ผลสำเร็จก็สิ้นสุด การทำงานแบบนี้ต้องหาคนเก่งมาทำงานเพื่อจะได้ผลสำเร็จที่เน้นความเป็นเลิศ แต่กลุ่มนักวิชาการที่ทำวิจัยเพื่อสร้าง Social Enterprise นั้น  นอกจากได้ผลงานที่ใช้ประโยชน์ต่อสังคมได้แล้ว ในกระบวนการวิจัยและผลที่ได้จากการวิจัย  ได้ส่งผลต่อการเรียนรู้ของนักศึกษาด้วย   งานวิจัยจึงล้วนทำในสภาพจริงที่มีปัญหาเกิดขึ้นในสังคม การประกอบการทางสังคมจึงเป็นเครื่องมือในการแก้ปัญหาสังคมอย่างต่อเนื่องและพึ่งตนเองได้ด้วย  โดยมีหลักการแนวคิดดังนี้
  1. สร้าง Social Innovation as Enterprise (new ideas that work for social) เพื่อสร้างงานและอาชีพให้แก่นักศึกษา  โดยมีกระบวนการสร้าง  Social Innovation  คือ การทำสิ่งที่แตกต่างจากเดิมในโลกนี้  ซึ่งเกี่ยวกับกระบวนการเรียนรู้ที่แตกต่างจากเดิม  ที่ทำให้เกิด ideas
  2. From seeing Problem to seeing  solution  to Social  ให้ Developing an idea  Learning by doing rather than giving advance knowledge, do not teach a lot. Community grass root have to start right from the ground by confidence building , skills building.
  3. ปลูกฝัง (embedding) Social Enterprise ในมหาวิทยาลัย ด้วยการใช้ประโยชน์จากงานวิจัย do it for real. It is not a project but it is a continuing journey อนาคตมหาวิทยาลัยเน้นการสร้างทักษะ เนื่องจากผู้เรียนอ่านเนื้อหาเองได้ ดังนั้นจึงเน้นการเรียนรู้จากการทำกิจกรรม ดังเช่น กิจกรรมที่ใช้ความคิดสร้างสรรค์ในสภาพจริง ของกลุ่มนักศึกษาที่ทำ  Gallery 202 เป็น pop up art gallery  โดยใช้ร้านค้าที่ว่างเปล่า  เพื่อเป็นพื้นที่ให้คนมาแลกเปลี่ยนความเห็นกัน  สร้างความร่วมมือกับชุมชน  และสร้างเครือข่ายนักศิลปะ มีการทำวิจัยสร้างนวัตกรรม  การวิจัยการตลาด  ที่มีการเคลื่อนไหวเปลี่ยนแปลงสถานที่ตลอดเวลา โดยใช้สถานที่ร้างมานาน  หลังจากการแสดงงานศิลปะทำให้ขายที่ว่างได้ทันที กิจกรรมเหล่านี้เป็นกระบวนการเรียนรู้ของนักศึกษา  นับว่าเป็นบทบาทของมหาวิทยาลัย ผ่านการสนับสนุนจาก University’s  Enterprise club ในการให้ทุนสนับสนุน  จากกระบวนการดังกล่าว ทำให้มองเห็นว่า ผลงานศิลปะเป็นกระบวนการสร้างความสัมพันธ์ของมนุษย์  โดยการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นอย่างสร้างสรรค์ และในที่สุดเกิดกระบวนการเรียนรู้ในสถาพจริง  และยังส่งประโยชน์สังคม  ในการสร้างสรรค์อาชีพรูปแบบใหม่  ที่ไม่ต้องลงทุนมากมาย
  4. To work with community that gives impact to community and inspire youth using professional, technical and creative activities  ดังเช่นกิจการที่มาจากการวิจัยของอาจารย์และนักศึกษามหาวิทยาลัย Northampton  อันเนื่องจากปัญหากลุ่มเด็กวัยรุ่นในชุมชนแห่งหนึ่งเขียนภาพบนผนังอย่างเลอะเทอะ และสร้างปัญหาในชุมชน  ตำรวจขอให้มหาวิทยาลัยทำวิจัยแก้ปัญหานี้  โดยสร้างความร่วมมือจากโรงเรียนในชุมชน  หารูปแบบธุรกิจ และการตลาด  นักศึกษาจึงจัดการฝึกอบรมเด็กมาเรียนรู้ศิลปะการวาดภาพแบบสร้างสรรค์  ซึ่งเป็นกิจกรรมหารายได้ที่พึ่งตนเองได้ด้วย
  5. เริ่มต้นจากกิจกรรมอาสาสมัคร  ดังเช่น กลุ่ม Northampton Volunteer Center  (NVC) working on  behalf of Northampton Volunteer Center  อาสาสมัครส่วนใหญ่มาจาก เด็กอายุ 15-25 ปี เนื่องจากต้องการเรียนรู้ประสบการณ์ใหม่ๆ สร้างความมั่นใจให้ตนเอง  ต้องการมีส่วนร่วมกับชุมชน  และเป็นประวัติใน CV ของอาสาสมัคร
ถึงแม้กิจกรรมที่ให้นักศึกษาทำไม่มีอะไรใหม่นัก  เช่น ให้นักศึกษาปีที่ 1 ทำเรื่องที่เกี่ยวกับการสร้างสรรค์ (creating)  เช่น  การสร้างความสะดวกสบายการดำเนินชีวิตให้ผู้สูงอายุ  โดยพานักศึกษา 20 คนเยี่ยมผู้สูงอายุ  ดูวิถีชีวิต พบปัญหาต่างๆ จึงไปขอ  iPAD มาให้ผู้สูงอายุใช้สื่อสาร  และการรวมกลุ่มของนักศึกษานำสินค้าที่มีนวัตกรรมต่อการดำรงชีวิต เช่น การนำ Organized Bag  มาจัดจำหน่ายแบบขายตรง  การอาสาไปสอนหนังสือคล้ายโรงเรียนกวดวิชา  แต่กิจกรรมเหล่านี้ก็เป็นจุดเริ่มต้นของการเรียนรู้ปัญหาสังคมของนักศึกษา  และเป็นจุดเริ่มต้นในการเข้าสู่การประกอบการทางสังคมของนักศึกษาต่อไป
แม้แต่นักศึกษามหาวิทยาลัย Oxford  ก็มีกิจกรรมอาสาสมัคร  ผู้นำ Oxford  Student Hub  ให้ข้อมูลว่ากิจกรรมที่นักศึกษานิยมทำ  คือ
Student  minds  เป็นอาสาสมัครที่ช่วยเหลือนักศึกษาที่มีความเครียดจากการเรียน  การจากบ้านมาเรียนหนังสือ จากสถิติ ร้อยละ 25  นักศึกษามีความเครียด  ร้อยละ 10 คิดฆ่าตัวตาย ในปี 2012-2013 อาสาสมัครช่วยเหลือโดยใช้วิธีการเป็นเพื่อน 215  ราย จาก 18 มหาวิทยาลัย  
schools  plus  นักศึกษาอาสาออกไปสอนหนังสือใน 15 โรงเรียน  ในกลุ่มเด็กอายุ 5-18 ปี เพื่อเพิ่มความรู้ ความมั่นใจ และความสนใจ ในกลุ่มเด็ก  หน่วยประสานงานจัดการอบรมอาสาสมัคร  โดยสนับสนุนค่าใช้จ่ายการเดินทาง  ด้วยเหตุที่อยากฝึกทักษะเป็นผู้นำ  ทักษะการสอน  ที่เมือง oxford มี 11 โรงเรียน  อาสาสมัครประมาณ 500 คน มีการติดตามประเมินผล  วิชาที่นักศึกษาอาสาสมัครออกไปสอนมี ภาษาอังกฤษ  คณิตศาสตร์  วิทยาศาสตร์ พละศึกษา รัฐศาสตร์ เป็นต้น
อย่างไรก็ตามกิจกรรมอาสาสมัครต่างๆก็มีพัฒนาการสู่ SE  อาทิ  ช่วยเหลือผู้พิการ  ผู้สูงอายุ  Health Watch  ช่วยทำสวน ช่วยชุมชนให้เกิด SE 68 แห่ง ด้านการพัฒนาการผลิต การตลาด และทำให้เกิด CIC (Community Interest Company)
สรุปมุมมองจากภาพรวมการศึกษาดูงาน 4 มหาวิทยาลัยในประเทศอังกฤษ  ในช่วงเวลา 5 วัน  
  1. การจัดการศึกษาในประเทศอังกฤษให้ความสำคัญการสร้างคุณภาพบัณฑิตสู่การประกอบอาชีพ (Employability)  จึงจัดกิจกรรมสนับสนุนต่างๆ ที่เอื้อต่อการเรียนรู้สู่การประกอบอาชีพ (Learning Experience for Carrier Development )
  2. สิ่งที่ยืนยันว่าประเทศไทยได้ทำมาแล้วถูกทาง  คือ การบูรณาการการเรียนการสอน  การวิจัยและการบริการวิชาการ  เพียงแต่กระบวนการจัดการเรียนการสอนลักษณะนี้ในประเทศไทย  ไม่ได้กระจายไปทั่วทั้งประเทศ  เกิดเพียงบางกลุ่ม เป็นหย่อมๆ  ขาดการสนับสนุนอย่างเป็นระบบและต่อเนื่อง
  3. เมื่อศึกษาสาระเนื้อหาด้าน Student Entrepreneurship จากการดูงานครั้งนี้  พบว่าประเทศไทยก็ได้ริเริ่มทำมาแล้วดีมากเพียงอยู่ในระยะเริ่มต้น แต่ขาดโครงสร้างภายในสถาบันรองรับ  และยังทำงานแบบแยกส่วน  เป็นงานของผู้สอนแต่ละคนที่ได้รับทุนมาเท่านั้น เมื่อไม่มีทุนก็เลิกทำ เนื่องจากยังไม่มีนโยบายรองรับอย่างจริงจังในระบบสถาบันอุดมศึกษา
  4. การแลกเปลี่ยนความเห็นจากการสะท้อนของผู้ร่วมเดินทาง เห็นตรงกันว่า แท้จริงแล้วการพัฒนาคุณภาพอาจารย์ (Professional Academic Development) กับการสร้างอาชีพ  สร้างการประกอบการเพื่อสังคม (University Social  Enterprise and Student Entrepreneurship)  เป็นกระบวนการเดียวกัน  มีความสัมพันธ์กันภายในระบบอุดมศึกษา  หรือเป็นเหตุเป็นผลกัน  มหาวิทยาลัยที่เข้าไปศึกษาดูงานทั้ง 4แห่งในประเทศอังกฤษล้วนบูรณาการการสอน การวิจัย และบริการสังคม  สำหรับประเทศไทยได้ทำมาแล้วกว่า 10 ปี และมีสาระนื้อหาที่ละเอียดลึกซึ้งมาก สิ่งที่แตกต่างกันคือ ประเทศไทยขาดการสนับสนุนอย่างเป็นระบบที่มีความต่อเนื่อง
ข้อสรุปดังกล่าวสอดคล้องกับเสียงสะท้อนจากผู้ร่วมเดินทางที่มีบทบาทในระบบอุดมศึกษาของประเทศไทยหลายท่าน ดังนี้
ศ.นพ.วิจารณ์  พานิช เห็นว่ามหาวิทยาลัยยุคใหม่ทำงานแบบเดิมไม่ได้    เรื่อง Teaching & Learning (T&L) และเรื่อง Social  Enterprise (SE)  เป็นเรื่องเดียวกัน  SE เป็นคุณค่าใหม่ของนักศึกษา  ซึ่งต้องได้รับการบ่มเพาะ  ด้วยการเรียนรู้ด้วยตนเอง  เป็นการสร้างกระบวนการเรียนรู้แบบใหม่  ทำร่วมกับเพื่อน ได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้กัน ดังนั้น T&LและSE จึงนับว่าเป็นเรื่องเดียวกัน โดยมีระบบสนับสนุน อย่างเช่น UnLtd  
SE เป็นกิจกรรมระดับชาติ  เพื่อประโยชน์ส่วนรวม  อันเนื่องจากทุนนิยมนำไปมาก  ทำให้สังคมมีความเหลื่อมล้ำกันมากขึ้น  การจัดการของประเทศอังกฤษ  มีการกำหนดเป้าหมายชัดเจน  มีการตั้งหน่วยงานรับผิดชอบ  มีการจัดการ  และใส่ทรัพยากรเข้าไป  ให้ทำไปและเรียนรู้กันไป  ซึ่งแตกต่างกับประเทศไทย  
สำหรับกิจกรรมนักศึกษาอาสาสมัคร  นักศึกษาบางมหาวิทยาลัยที่ไม่มีความมั่นใจพอ ต้องทำให้นักศึกษาสร้างสรรค์ความรู้    ค้นพบตัวเอง  มากกว่าใส่ความรู้เข้าไป  
อธิการบดีมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์  สะท้อนว่าปัญหาประเทศไทย  คือ คุณภาพการศึกษา  และคุณภาพบัณฑิต  สาเหตุมาจากการจัดการเรียนการสอนที่ยังไม่สามารถตอบคุณภาพการศึกษา  SE  จึงเป็นคำตอบการลดความเลื่อมล้ำอันเนื่องมาจากทุนนิยม  ซึ่งน่าจะได้นำเข้าสู่ระบบการวิจัย  ซึ่งประเทศไทยก็มี วิสาหกิจชุมชน  กองทุนตั้งตัวได้  หน่วยบ่มเพาะวิสากิจ สหกิจศึกษา  ที่น่าจะได้มีการบูรณาการร่วมกัน
รศ.ดร.บัณฑิต ทิพากร  รองอธิการบดีฝ่ายพัฒนาการศึกษา  มจธ.  ชี้ว่าคุณภาพบัณฑิต  อยู่ที่คุณภาพอาจารย์  ที่ต้องมีความสามารถทั้งการจัดการเรียนการสอน  การวิจัย และการสร้างอาชีพบัณฑิต  ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของการบริการสังคม  มีทั้งสาระตามศาสตร์ที่สอน  การสร้างคุณค่า  ประเด็นสำคัญคือการสนับสนุนกระบวนการเรียนรู้  ที่อาจารย์สามารถบูรณาภารกิจทั้งหมดเป็นกระบวนการเดียวกัน   ปัญหาอยู่ที่ สกอ. ทำงานแยกส่วนกัน  ผู้ที่เข้าใจเรื่องนี้ควรรวมตัวกันทำงาน  โดยมหาวิทยาลัยมาร่วมทุนกัน  เปลี่ยนการศึกษามาเป็นการสร้างสมรรถนะในการสร้างสรรค์ที่ใหม่ มากกว่าเรียนรู้สิ่งที่มีอยู่แล้ว  โดยทำไปเรียนรู้กันไป  
รศ.นพ.สุวัฒน์ เบญจพรพิทักษ์  รองคณบดีคณะแพทย์ศาสตร์ ม.มหิดล เสนอเปลี่ยนวิธีการประเมิน การเข้าสู่ตำแหน่งทางวิชาการ  ให้เพิ่มการทำงานวิจัยด้านการเรียนการสอน ไปใช้ขอตำแหน่งทางวิชาการ  มิใช่ต้องทำผลงานด้านสาขาเฉพาะของตนเองเท่านั้น  หากผลงานวิชาการมีสาระตามศาสตร์สาขาเฉพาะทาง  ที่ผสมด้านการจัดการเรียนการสอนไม่เกินร้อยละ ๔๐  หรือสร้างวิชาการสอนเฉพาะสาขา  เช่น  วิชาแพทย์ศาสตร์ศึกษา  วิศวกรรมศาสตร์ศึกษา
อธิการบดี มศว.  เสนอให้มองวิธีการใหม่ ให้หลุดออกจาการตีพิมพ์ ที่เป็นฐานจากการวิจัย  
ดร.พิสิฐ ลี้อาธรรม คณบดีคณะเศรษฐศาสตร์  มหาวิทยาลัย เชียงใหม่   บอกว่า SE  ไม่ใช่เรื่องใหม่  ประเทศไทยเริ่มสมัยรัฐบาลชวน  ตั้งกองทุน SIF (Social Investment Fund)  จากนั้นก็ขยายไปยังหมู่บ้าน มีกฏหมายตั้ง สสส. โดยมีกลไกดูแล  น่าเสียดายที่เป็นเงินให้เปล่า  น่าจะมีการคืนเงินหลังจากประกอบกิจการมีกำไร  ทำให้มีการเลี้ยงตัวเองได้  แต่อย่าให้ SE ทำงานเฉพาะผู้ด้อยโอกาส  ไม่ใช่งานเสียสละ  ก็จะทำให้สามารถทำงานได้อย่างยั่งยืน  และสามารถปันผลเต็มที่ มีฐานะเหมือนธุรกิจอื่นๆ
สำหรับการตั้ง SE ในมหาวิทยาลัย ทำให้ได้มีการปฏิบัติ  เป็นการฝึกให้นักศึกษามีทักษะเป็นผู้ประกอบการ    มีการตั้งกองทุน SE และการบริหารกองทุน  ความจริงมหาวิทยาลัยก็ไม่น่าจะจมอยู่กับเรื่องเหล่านี้  น่าจะมีการทำงานด้านวิชาการด้วย
ส่วน UK-PSF (UK- Professional Standard Framework) เป็นความพยายามของมหาวิทยาลัย  ออกจากอำนาจรัฐ  มากำหนดกฎเกณฑ์ตนเอง  การพัฒนาอาจารย์และนักศึกษา  มีระบบการฝึกของตนเอง  
การนำความรู้จากการดูงานในประเทศอังกฤษครั้งนี้กลับไปทำในหน่วยงานตนเอง
มจธ.  จะทำ PSF เชื่อว่าคุณภาพการศึกษามาจากอาจารย์  โดยเฉพาะสมรรถนะการเรียนการสอน และการวิจัย  ไม่ใช่ทำวิจัยเฉพาะเพื่อตีพิมพ์อย่างเดียว  กรณี Aston  เน้นการเรียนรู้ของนักศึกษา  ที่สำคัญคือ คุณภาพการเขียนบทความทางวิชาการ  มีการจัดระบบการติวของนักศึกษา  โดยใช้นักศึกษา ปริญญาเอก  และการปรับห้องสมุดให้มีบทบาทเสริมการเรียนการสอน  บรรณารักษ์มีบทบาทเป็นผู้จัดการการเรียนรู้  
สำหรับ SE นั้น คณะวิศวกรรมศาสตร์ มจธ.ก็มีความพยายามให้นักศึกษามีทักษะเป็นผู้ประกอบการ  โดยจัดสถานที่ในมหาวิทยาลับมีพื้นที่การเรียนรู้  ในคณะวิศวกรรมศาสตร์ได้ออกแบบไว้แล้ว  ใช้หลักการ Do it yourself  และนำหลัก  CDIO (Conceive — Design — Implement — Operate) ไปใช้
มศว.  มีสำนักนวัตกรรมการเรียนรู้  และมีคณะสังคมศาสตร์ที่ทำงานด้าน SE  เรื่องการเรียนการสอน  พยายามแปลงจุดเด่นด้านการศึกษาขั้นสูง  มีโรงเรียนสาธิต 5 แห่ง  มีพัฒนาการดีขึ้นเรื่อยๆ  โรงเรียนสาธิตใหม่  ที่ไม่ใช่มาจากสายการศึกษา  เพื่อหานวัตกรรมการเรียนรู้  อาจารย์ทุกคนที่เข้ามาสอนใน มศว. ต้องเข้าหลักสูตรการเป็นครู  จะพยายามไปคุยกับคณบดี  ให้บูรณาการการสอน การวิจัย และบริการวิชาการเป็นงานเดียวกัน  ใช้ SE เป็นบริการชุมชน
สำหรับ SE  จะทำงานกับ สกส. (สำนักงานสร้างเสริมกิจการเพื่อสังคม) จะหาโอกาสทำต้นน้ำ  มีรองอธิการบดีฝ่ายเครือข่ายการเรียนรู้  จะใช้พื้นที่ จ.นครนายก และจ.สระแก้ว  โดยทำงานจากความต้องการของชุมชน  มีโพธิวิชชาลัย ตั้งอยู่ อ.วัฒนานคร  จ.สระแก้ว เกิดจากความต้องการของชาวบ้านก่อนแล้วจึงนำมาร่างหลักสูตร  โดยเปลี่ยนวิธีสอบเข้าแบบไม่ใช้คะแนน ONET ผู้เรียนมาจากเด็กชายขอบ  จึงใช้ร่วมทุนกับ อบจ.มาตั้งกองทุนในมหาวิทยาลัย  ผู้เรียนสามารถเรียนรู้จากสภาพจริงในท้องถิ่น  ตอนนี้นักศึกษาพัฒนาผลิตภัณฑ์ 3 ชนิด  คือ 1) น้ำแร่จากภูเขา ชายแดนพม่า  ผลิตภัณฑ์ที่ 2) คือ เพลง ปากะยอ  ว่ามีผลต่อสมองอย่างไร  ผลิตภัณฑ์ที่ 3) คือข้าวอินทรีย์   เป็นการหารายได้ของโพธิวิชชาลัย เดือนพฤศจิกายนนี้ มศว. จะจัดกิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ด้าน SE  โดยเชิญหน่วยงานมาร่วมคือ มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง  PDA  ต่างประเทศเชิญมูลนิธิฉือจี้ จากไต้หวัน  และวิทยากรจากประเทศอังกฤษ
ม.นเรศวร รองอธิการบดีฝ่ายพัฒนากิจกรรมนักศึกษา  ได้สำรวจดัชนีความสุขของนักศึกษา  พบพื้นที่รกร้างเดิมมีตลาดนัด  เพื่อหาพื้นที่ให้นักศึกษาทำกิจกรรม  จึงปรับปรุงพื้นที่ เป็น Center-ment  เพื่อให้นักศึกษาสร้างรายได้  ร่วมกับหน่วยบ่มเพาะวิสาหกิจ (UBI)  ให้จัดการอบรมนักศึกษา  ทำธุรกิจโดยนำผลงานวิจัยมาทำธุรกิจ เพื่อเป็นทุนการศึกษา  และนำไปช่วยเหลือสังคม
นอกจากนี้ยังมีโครงการพี่เลี้ยงก้านกล้วย  นำรุ่นพี่มาอบรมดูแลน้อง  รวมทั้งดูแลนักศึกษานานาชาติ  และสร้าง Student Hub   เป็นที่ประสานงานบริการนักศึกษา  เปลี่ยนชื่อ จากศูนย์บริการช่วยเหลือนักศึกษา เป็นศูนย์ข้อมูลข่าวสารนักนักศึกษา
ม.นเรศวร มีนโยบายให้นักศึกษาไปอยู่ในสถานประกอบการนานขึ้น  โดยบูรณาการการสอน การวิจัย และบริการวิชาการ  การทำกิจกรรมนักศึกษานำมาคิดเป็นหน่วยกิตได้
ม.มหิดล  มีการพัฒนาการเรียนการสอน  3 ส่วน คือ ในส่วนการพัฒนาอาจารย์โดยใช้  RBL (Research Based Learning) และจะไปพัฒนา PSF  ขอทำเป็นเครือข่ายกับมหาวิทยาลัยอื่น  ผ่านที่ประชุม ทปอ. จะใช้ IT พัฒนาการเรียนรู้สำหรับ SE มหาวิทยาลัยก็ต้องคิดหารายได้ เป็น PPP  (Private Public Partnership)
ในส่วนของการสร้างทักษะประกอบการทางสังคม  ปกตินักศึกษาหารายได้อยู่แล้ว  มหาวิทยาลัยจะไปเสริมให้มีระบบมากขึ้น  นอกจากนี้อยากสร้างพลังจากศิษย์เก่า  ด้าน internationalization เชื่อมกับ SE โดยมีการแลกเปลี่ยนประสบการณ์  เสนอการพัฒนาอาจารย์เป็นเครือข่ายระดับประเทศ
ศ.ดร.วิจิตร ศรีสะอ้าน สะท้อนการดินทางครั้งนี้  เห็นว่าสถาบันคลังสมองของชาติ ได้จัดเรื่องที่เป็นปัญหาของสังคมไทย  คือประเด็นการสอนให้นักศึกษาได้อาชีพ มีงานทำ  แต่อาจารย์มักสอนตามศาสตร์ตนเองที่เคยเรียนมา   จึงมาดูบทบาทมหาวิทยาลัยเพื่อการพัฒนาสังคม ได้เห็นว่าเขาทำจริง  ทำแล้วได้ผลอย่างไร มีปัญหาอะไร  ซึ่งต้องอยู่ในระบบอย่างเป็นทางการ  และสังคมนำไปประยุกต์ใช้กับภาพที่เป็นจริงในสังคมไทยได้
อธิการบดี มศว. เห็นความเหลื่อมล้ำในสังคมว่า เมื่อไรมหาวิทยาลัย ยิ่งสร้างนวัตกรรม ก็ยิ่งทิ้งคนห่างจากสังคมมมากขึ้น จึงสนใจการสร้างการประกอบการทางสังคมเชื่อมกับพันธกิจการเรียนการสอนและการวิจัย
สำหรับการประกอบการทางสังคม  ซึ่งมี 2 ด้าน คือด้านธุรกิจและด้านสังคม  การประกอบการทางสังคม  จะอยู่ตรงกลาง ต้นน้ำที่มาจากความเหลื่อมล้ำทางสังคม  ส่วนกลางน้ำ  มีบริษัทที่มารับ  เกิด social enterprise, stalk exchange , Unlimited (มูลนิธิสนับสนุน SE ในประเทศอังกฤษ) ได้ให้เงินไปพัฒนาแผนธุรกิจ  ผู้ผ่านก็จะให้กู้เงินทำธุรกิจ  ตั้งsocial  enterprise  จึงเห็นว่ามหาวิทยาลัยต้องเปลี่ยนวิธีสอนตามปัญหา เป็นการสร้างพลังของ CSR  and social enterprise  และปลายน้ำ  มีบริษัทดำเนินการธุรกิจ
ศ.ดร.ปิยะวัติ บุญ-หลง ผู้อำนวยการสถาบันคลังสมองของชาติ สรุปว่า ประเด็น SE มี มศว. ร่วมกับ สกส. กำลังขับเคลื่อน  ที่สำคัญ คือ ทำอย่างไรจะทำวิชาการจาก SE น่าจะเกิดทฤษฎีการเรียนการสอนด้าน SE
สะท้อนจากผู้เขียน
ท่ามกลางบรรยากาศเงียบสงบบนรถไฟจาก Oslo ไปเมือง Trondheim เมื่อวันที่ 7 ตุลาคม 2556 ภาพทิวทัศน์ธรรมชาติอันสวยงามมีความสงบตลอดทาง ได้ซึมซับบรรยากาศความสงบเข้ามาอยู่ในจิตใจ      จึงได้นำรายงานฉบับนี้มาร้อยเรียงเพื่อสะท้อนมุมมองใหม่ๆ  เช้าวันแรกตื่นขึ้นมาในบ้านแม่นอร์วีเจียน   เกิดความคิดสะท้อนมองเห็นว่า การเดินทางไปศึกษาดูงานที่ประเทศอังกฤษครั้งนี้สร้างความประทับใจลึกๆ      มาจากสิ่งที่ได้ฟังได้เห็น คือการมองสิ่งที่เป็นกระบวนการเติบโต แตกต่างจากภาพถ่ายที่เติบโตเองไม่ได้    สิ่งที่ได้เห็นได้ฟังเป็นเพียงข้อมูล (สุ มาจาก สุตมยปัญญา) หลังจากกลับมาแล้วมีเวลาคิดไตร่ตรองในความเงียบสงบภายในจิตใจ เกิดการคิดใคร่ครวญ (จิ มาจาก จินตามยปัญญา)  ได้นำมาตั้งคำถามค้นหาคำตอบเพิ่มเพิ่ม (ปุ มาจาก ปุจฉา) บัดนี้ได้นำมาสู่การเขียน (ลิ มาจาก ลิขิต)   
สิ่งที่ได้รับผ่านการคิดใคร่ครวญ  กำลังจะนำไปสู่การปฏิบัติเพื่อเรียนรู้ในสภาพจริง  ร่วมกับหน่วยงานที่กำลังขับเคลื่อนบทบาทสถาบันอุดมศึกษาร่วมกับชุมชนในการจัดงาน Social Enterprise Week (SE-Week) ช่วงวันที่ 22-28 กุมภาพันธ์ 2557 งานนี้จัดในหลากหลายพื้นที่ของกรุงเทพฯ โดยสำนักงานเสริมสร้างกิจการเพื่อสังคม (สกส.)  ร่วมกับอีกหลายหน่วยงานทั้งในและต่างประเทศ  มีกิจกรรมการแสดงผลงาน SE และการประกอบการทางสังคม (SE) ที่เป็นรูปธรรม โดยนำผลงานวิจัยที่เป็นนวัตกรรมทางสังคมมานำเสนอสู่การพัฒนาเป็น Social  Enterprise จัดที่ Park@Siam  ส่วนกิจกรรมประชุมสัมมนาแลกเปลี่ยนเรียนรู้  จัดในหลายสถานที่ อาทิ มศว. จัดการประชุมวิชาการนานาชาติ เรื่อง ผลกระทบทางสังคมภายหลังจากการดำเนินการกิจการเพื่อสังคม(Social Impact after Social Enterprise Approach) ในวันที่ 27 พฤศจิกายน 2556  ที่  หอดนตรีและการแสดงอโศกมนตรี ชั้น 4 อาคารนวัตกรรม ศ.ดร. สาโรช บัวศรี      มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ สุขุมวิท 23 กรุงเทพฯ และสถาบันคลังสมองของชาติ จะจัดเรื่องบทบาทสถาบันอุดมศึกษาด้าน SE เน้น Student Entrepreneurship และยังมีอีกหลากหลายกิจกรรมซึ่งจะมีการประชาสัมพันธ์ต่อไป


สิ่งที่สะท้อนจากการศึกษาดูงานดังที่ได้สรุปไว้ข้างต้น ทำให้เห็นว่า SE เป็นกระบวนการจัดการการศึกษาในยุคนี้ที่เน้นการเรียนรู้ด้วยการปฏิบัติจริง “do it for real. It is not a project but it is a continuing journey
ในบ้านแม่นอร์วีเจียนมีรูป Prof.Wangari Maatthai, The Winner The Noble Peace Prize 2004, She called on young to commit  themselves on activities that contribute toward achieving their dreams. She presented her views on education  as a tool of making the world a better place.
แท้จริงอีกมุมหนึ่งของโลกกำลังขับเคลื่อนการเปลี่ยนแปลงการศึกษาในทางที่มีความสงบ  เรียบง่าย เพื่อมนุษย์ทั้งมวล ในขณะที่กระแสหลักยังคงจัดอันดับการแข่งขัน เชิดชูผู้ชนะเลิศที่เป็นกลุ่มคนจำนวนน้อย  ส่วนกลุ่มผู้แพ้เป็นคนจำนวนมาก มักเป็นกลุ่มผู้ขาดโอกาสการเข้าถึงทรัพยากรการเรียนรู้ ขณะนั่งบนเครื่องบินไป Norway ได้อ่านหนังสือ “ปรัชญาการศึกษาของไทย” เขียนโดย พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ.ปยุตโต) ใจความสำคัญคือ การให้ศึกษาเพื่อจุดหมายชีวิต (Education for Life)  หรือการศึกษาเป็นกิจกรรมของชีวิต  โดยชีวิต และเพื่อชีวิต  กระบวนการศึกษา คือกระบวนการแก้ปัญหาของมนุษย์อย่างถูกต้อง ด้วยสติปัญญา    มีฉันทะ (ตรงข้ามกับตัณหา) เพื่อให้มีกรุณา หมายถึงการทำประโยชน์ต่อผู้อื่นและสังคม  การจะมีกรุณาที่แท้จริงได้ ต้องมีปัญญาที่สูงขึ้น พร้อมกับที่กระทำการต่างๆ โดยใช้กรุณาเป็นแรงจูงใจให้ทำมากขึ้น   
กระบวนการทางปัญญา ตามที่ พระพรหมคุณาภรณ์  อธิบายในหนังสือ “ปรัชญาการศึกษาของไทย”  เห็นว่าสามารถนำมาอธิบายใน Bloom’s Taxonomy  ซึ่ง   Aston University ได้ดัดแปลงมาดังรูป
จึงนำมาตีความว่า กระบวนการทางปัญญา เพื่อประโยชน์ต่อการดำรงชีวิตและเพื่อสังคม เป็นกระบวนการวิจัย  หรือการศึกษาเพื่อชีวิตอย่างยั่งยืน  ด้วยการเรียนรู้จากความรู้ที่มีอยู่แล้ว (สุ-สุตมยปัญญา) คือการค้นหาว่ามีอะไร (what) อยู่แล้วหรือการทบทวนเอกสาร  เพื่อนำมาทำความเข้าใจ (understanding) ขั้นตอนนี้เป็นกระบวนการทางจิต (จิ-จินตามยปัญญา) โดยมีสติมากำกับให้มีความเข้าใจที่ถูกต้องเที่ยงตรง (สัมมาทิฎฐิ) เพื่ออธิบายว่าด้วยเหตุใด (why)  ในขั้นตอนนี้จะได้ “ความรู้” (knowledge– know why)  เป็นความรู้ที่นำไปปฏิบัติการแก้ปัญหาสังคมได้  ซึ่งเป็นความรู้ที่บอกว่าทำอย่างไร (know how หรือ technology) เมื่อนำไปปฏิบัติแล้ว ก็ตั้งคำถาม (ปุ-ปุจฉา) วิเคราะห์ไตร่ตรองว่าดีอย่างไร  มีอะรที่ใหม่กว่าและดีกว่า ด้วยการประเมินเพื่อค้นหาสิ่งใหม่  ความรู้ใหม่  หรือนวัตกรรม  จึงเชื่อว่ากระบวนการเหล่านี้เป็นกระบวนการศึกษาเพื่อการดำรงชีวิต และเพื่อประโยชน์ต่อสังคมทั้งมวล  นั่นคือ ความหมายของ University Social Enterprise  ด้วยการสร้าง Student Entrepreneurship
กระบวนการดังกล่าวเป็นวิถี (the path /a continuing journey) เพื่อชีวิตและสังคมทั้งมวล  แตกต่างจากการศึกษาที่มีการให้ทำจบเป็นเรื่องๆ (a project)  มีการคัดเลือกกลุ่มคนที่มีศักยภาพมารับการศึกษา  เพื่อแสดงความเป็นเลิศ โดยใช้กลุ่มเฉพาะคนที่มีศักยภาพสูงให้มีบทบาทสร้างชิ้นงานออกมา  เหมือนนักท่องเที่ยวคอยถ่ายรูปเก็บภาพสวยๆ นำมาแสดง  ความจริงภาพถ่ายหรือชิ้นงานที่สร้างขึ้นเป็นความจริงในอดีต  และการสร้างกลุ่มคนฉลาดที่ไม่เข้าใจความจริงของคนส่วนใหญ่  แต่กลายเป็นกลุ่มคนที่มีบทบาทพัฒนาสังคม  ก็จะเกิดช่องว่างของความจริงมากขึ้น
อธิการบดีมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย (มจร.) ได้กล่าวในการประชุมวิชาการนำเสนอผลงานวิจัยดีเด่น ปี 2556 ว่า “ การทำวิจัยเป็นการสร้างความเชี่ยวชาญของผู้ทำวิจัย”  นั่นหมายถึง  แท้จริงเป้าหมายการศึกษา  คือ กระบวนการสร้างปัญญาให้แก่ผู้ปฏิบัติการทำวิจัย  เนื่องจากเป้าหมายสำคัญของการศึกษา คือการพัฒนาคนให้เป็นผู้มีสติปัญญา  แต่การศึกษาที่ผ่านมาจะเน้นการวัดที่ผลงานเป็นสำคัญ ซึ่งผลงานมีการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา  หากนำกระบวนการทางปัญญาให้เข้าถึงคนทุกกลุ่มอย่างเท่าเทียมกัน  และเป็นการศึกษาที่มีการปฏิบัติการในสถานการณ์จริง  การศึกษาก็เป็น “do it for real. It is not a project but it is a continuing journey ป็นกระบวนการต่อเนื่อง ไปสู่การพึ่งตนเอง  
เมื่อการจัดการศึกษาที่บูรณาการการสอน การวิจัย ร่วมกับการประกอบการทางสังคม ด้วยการสร้างนวัตกรรมอย่างต่อเนื่อง ก็นับว่าเป็นการนำผลงานวิจัยไปใช้ประโยชน์ตั้งแต่การสร้างคุณภาพชีวิต สิ่งแวดล้อม การสร้างรายได้ครอบคลุมกลุ่มผู้ด้อยโอกาสในสังคม  ซึ่งตรงตามแผนการพัฒนาประเทศที่มีการเชื่อมโยงทั้ง Competitive Growth, Green Growth และ Inclusive Growth  เข้าด้วยกัน  สถาบันการศึกษาก็จะเป็นกลไกพัฒนาคน  ที่มีความพร้อมเข้าสู่การทำงานที่เป็นประโยชน์ต่อสังคม ด้วยวิธีการจัดการศึกษาเพื่อประโยชน์ต่อสังคม  ก็จะประหยัดค่าใช้จ่ายในการแก้ไขปัญหาสังคมด้านต่างๆ  และเป็นการใช้จ่ายด้านการศึกษาที่คุ้มค่าด้วย
บทสรุป
สิ่งที่มีความหมายที่มีคุณค่าจากการศึกษาดูงานประเทศอังกฤษครั้งนี้ คือ
  1. การจัดการศึกษา หรือ Teaching and Learning   เป็นกระบวนการที่ต่อเนื่อง ไปจนถึงการทำงานและเชื่อมโยงกับความจริงในสังคม  เป็นกระบวนการที่  “มีชีวิต” (Growth and Development) การจัดการเรียนรู้ในสังคมแห่งความเป็นจริง  ทั้งนี้ต้องมีการสนับสนุนอย่างมีระบบที่ต่อเนื่องด้วย
  2. ประเทศอังกฤษมีการจัดการเรียนการสอน การวิจัย และทำงานเพื่อสังคม เป็นกระบวนการเดียวกัน เป็นการยืนยันในสิ่งที่ประเทศไทยทำมากว่า 10 ปีแล้ว แต่ประเทศไทยยังไม่มีระบบสนับสนุนที่ต่อเนื่อง
  3. UCL มีการนำผลงานวิจัยไปสู่ประโยชน์ต่อสังคมอย่างเข้มข้น ซึ่งมีรายละเอียดใน “The realisation of  research  from  Ideas to Social Enterprise : A guide to utilizing University intellectual property for the benefit of society” รวบรวมโดย  UCL, UCLB, UnLtd and STROM, 2013  เนื่องจาก UCL มีการจัดการศึกษา การวิจัย สู่ Social Enterprise ที่เข้มข้น ซึ่งน่าจะติดตามรายละเอียด ในการประชุม เครือข่าย University Social Enterprise  จะจัด the 2014 Global Consortium of Entrepreneurship Centres  2-4th October 2014 – will have as its theme ‘interconnectedness’ ดูรายละเอียดที่ http://www.ucl.ac.uk/advances/advances-news/ucl-to-host-gcec-conference-2014
  4. การเรียนรู้จากผู้ร่วมเดินทางที่เป็นผู้ที่มีประสบการณ์สูง   มีการแลกเปลี่ยนประสบการณ์ตลอดเวลาการเดินทาง   เป็นความสามารถของสถาบันคลังสมองของชาติ ที่จัดการศึกษาดูงานที่มีคุณภาพสูงยิ่ง
สิ่งที่เรียนรู้จาก UK Trip ครั้งนี้  และจะนำไปปฏิบัติ คือ
  • ใช้หลักการ SE  เป็นกระบวนการนำผลงานวิจัยไปใช้ประโยชน์ที่ยั่งยืน  และมีรากฐานที่มั่นคง  เนื่องจากมี University Social Enterprise  เป็นแหล่งสร้างคนและนวัตกรรมอย่างต่อเนื่อง  โดยเริ่มต้นจากการสร้างคนให้มีจิตอาสา  เป็นการเริ่มต้นในการสร้างทัศนคติที่มีความรับผิดชอบต่อสังคม
  • กระบวนการสร้าง Innovation to Social Enterprise ซึ่งสามารถใช้ Bloom Taxonomy  เมื่อนำมาไตร่ตรองก็เป็นกระบวนการที่เรารู้มานานแล้วคือ  สุ  จิ  ปุ  ลิ  สามารถนำไปสู่การสร้างนวัตกรรม   การประกอบการจึงจะอยู่ได้  ซึ่งจะสามารถแก้ปัญหาสินค้าชุมชน โอทอป ที่มักจะลอกเลียนแบบกัน
  • จากบทบาทการประสานงานกับสถาบันอุดมศึกษาด้านการวิจัยเพื่อรับใช้สังคม  โดยมีวารสารวิจัยเพื่อการพัฒนาเชิงพื้นที่   มีการสนับสนุนการพัฒนาบทความวิจัยตีพิมพ์ในวารสารวิจัยนี้  ซึ่งสอดคล้องกับการปฏิรูประบบวิจัยของประเทศก็มีช่องทางวิจัยเพื่อสังคม ชุมชน  และประกาศ กพอ. มีเกณฑ์ประเมินผลงานวิชาการรับใช้สังคม  จึงเชื่อมโยงผลงานวิชาการจาก SE สู่การเขียนบทความตีพิมพ์  เพื่อนำไปสู่การเข้าสู่ตำแหน่งวิชาการรับใช้สังคม ในระบบสถาบันอุดมศึกษา
  • ร่วมมือกับ สกส. ในกิจกรรมนำผลงานวิจัยที่มีโอกาสสร้าง  Social Innovation  นำไปสู่ Social Enterprise ซึ่งจะมีการจัดกิจกรรม SE week ร่มกับ UnLtd UK ในปี 2014
บทส่งท้าย  
1) การแลกเปลี่ยนมุมมองการศึกษาดูงานที่ UK เรื่อง Professional Academic Development and University Social Enterprise  เมื่อวันที่ 5 พฤศจิกายน 2556 เวลา 12.00-16.30            ที่ คณะสังคมศาสตร์ มศว.
อธิการบดี มศว.  มีเป้าหมายให้มหาวิทยาลัยสร้างสังคมเป็นสุข  จึงเป็นที่มาของการขับเคลื่อนประเด็นนี้
ศ.ดร.วิจิตร ศรีสะอ้าน   ได้พูดถึงการนำสิ่งที่ได้จากการศึกษาดูงานไปสู่การปฏิบัติ  ใน 3 ด้าน คือ
  1. การพัฒนาการสอนและการสนับสนุนการเรียนรู้  Quality Teaching and Support of Learning
  2. การบูรณาการหลักการ Social Enterprise กับการจัดการการศึกษา
  3. การจัดประสบการณ์การทำงานเป็นส่วนหนึ่งของการพัฒนาคุณภาพบัณฑิต (Industry Placement and Cooperative work and integrated  Learning)
การประยุกต์ใช้ในมหาวิทยาลัยไทย มีดังนี้
  • ขยายผลโดยหน่วยพัฒนาอาจารย์ ในมหาวิทยาลัย
  • สหกิจศึกษา ของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี ในด้าน Social Enterprise (SE)
  • ใช้บทบาทสถาบันคลังสมอง  ไปขยายผลในมหาวิทยาลัยแห่งอื่นๆ
อธิการบดี  มศว. พูดถึงการจัดการศึกษาในประเทศอังกฤษ ดังนี้
  • การจัดการศึกษาบูรณาการ เศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม
  • การจัดการศึกษาในประเทศอังกฤษ มี 3 ขั้นตอน คือ
  1. ระดับต้นน้ำ  รัฐบาลอังกฤษ มีกองทุน มี SE-UK
  2. UnLtd เป็นมูลนิธิที่สร้าง SE ขึ้นมาจากกลางน้ำ คือ สร้าง School for SE
  3. University of  Northampton  เป็น SE  โดยร่วมกับบริษัท Good will Solution  รับคนออกจากเรือนจำมาทำงานแทนที่จะรับคนเก่ง คนดี มาทำงาน เปลี่ยนจากผู้ใช้ภาษี เป็นผู้จ่ายภาษี  มหาวิทยาลัยได้จัดการเรียนรู้ในสังคมแห่งความเป็นจริง
มศว.  จะนำสิ่งที่ได้จากการศึกษาดูงานไปสู่การปฏิบัติ  คือ เปิด school for Social Enterprise  และวิทยาลัยโพธิวิชชาลัย เป็น Social Enterprise และสนับสนุนการวิจัยที่มี Social Innovations นำไปสู่ Social Enterprise
จากการประชุมผู้ไปศึกษาดูงานที่ประเทศอังกฤษ  แต่ละสถาบันก็มีการขับเคลื่อนกิจกรรมที่เกี่ยวกับการศึกษาดูงานมากมาย   และมีการสร้างความร่วมมือกับมหาวิทยาลัยในประเทศอังกฤษ  มีทั้งกิจกรรมพัฒนาอาจารย์ และการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน และสนับสนุนการจัดการศึกษาเชื่อมโยงกับ Social Enterprise
รศ.ดร.สิริวุฒิ บูรณพิร   คณบดีคณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ได้สรุปว่า ความรู้ทำให้ได้งานทำ  แต่กิจกรรมทำให้ทำงานได้
2) ข้อเสนอแนะการศึกษาดูงานด้าน University Social Enterprise in UK
UCL  เป็นสถาบันอุดมศึกษาที่มีการจัดการการศึกษา การวิจัย สู่ Social Enterprise ที่เข้มข้น จึงเสนอการศึกษาดูงานเชิงลึกที่ UCL และเข้าร่วมประชุมวิชาการ the 2014 Global Consortium of Entrepreneurship Centres during 2-4th October 2014 – will have as its theme ‘interconnectedness’ ดูรายละเอียดที่ http://www.ucl.ac.uk/advances/advances-news/ucl-to-host-gcec-conference-2014
UCL to host GCEC conference 2014   ข่าวเมื่อ    28 August 2013
UCL will host the 2014 Global Consortium of Entrepreneurship Centres annual conference, the first time a university outside of the USA has been awarded the privilege.
The conference – which will be hosted during 2-4th October 2014 – will have as its theme ‘interconnectedness’, particularly within entrepreneurship centres, building on the model developed by UCL Advances of an integrated programme of support for external businesses and students at every stage of development as they launch, grow and expand.
It is anticipated that UCL will partner with Birkbeck College, the School of Oriental and African Studies (SOAS), the London Business School and the National Association of College and University Entrepreneurs (NACUE) to deliver the conference, which will predominantly be hosted at the Institute of Education (IoE), which has a strategic partnership with UCL.
The conference will feature a variety of plenary sessions, workshops, breakout discussions and keynote speeches from UCL staff as well as external speakers. An app, specifically designed for use at the conference, will be produced in advance to enable delegates to optimise their participation over the three days in London.
The GCEC – formerly the National Consortium of Entrepreneurship Centers – was founded in 1996 to provide a way of coordinated collaboration and communication between university-based entrepreneurship centres on issues which they commonly confront. Its membership now comprises over 200 university entrepreneurship centres worldwide, including UCL.
“It is a real honour for UCL to be the first university outside of the US to host the GCEC conference,” said Gups Jagpal, Deputy Director of UCL Advances. “Not only is it testament to our strength as a centre of entrepreneurship and the support we provide to both the UCL community and external businesses, it will also be a golden opportunity to showcase the exciting tech entrepreneurship scene developing in London right now and burgeoning health and social enterprises, too.”
“Selection of the host campus is a highly competitive process,” added Dr Rebecca White, GCEC Site Selection Chair. “While many excellent schools from around the world applied to host the 2014 conference, we chose UCL and London to be the first host university outside of the US because it will provide GCEC with the opportunity to expand its reach globally." 
For enquiries please contact Gurpreet Jagpal - g.jagpal@ucl.ac.uk